Full Movies

Full Movies ส่อง ทุกมุมของ “วงการภาพยนตร์”

ส่องละเอียด Full Movies ทุกซอก ทุกมุมของ “วงการภาพยนตร์” ตั้งแต่ยุคแรก จุดเริ่มต้นก่อนจะมาถึงวันนี้ การปรับตัว และพัฒนาก่อนออกสู่สายตาผู้ชม

Full Movies ส่องละเอียด ทุกมุมของ “วงการภาพยนตร์” ตั้งแต่ยุคแรก จนถึงยุคปัจจุบัน

ภาพยนตร์ หรือ ที่ใครรู้จักกันเป็นอย่างดีในคำสั้น ๆ ว่า “หนัง” ในอดีตคือ กระบวนการบันทึกภาพด้วยฟิล์ม แล้วนำออกฉายให้เห็นเป็นภาพลักษณะเคลื่อนไหว โดยที่ภาพที่ปรากฏบนฟิล์มภาพยนตร์ หลังจากผ่านกระบวนการถ่ายทำแล้ว เป็นเพียงภาพนิ่งจำนวนมาก ที่นำมาปะติดปะต่อกัน มีอิริยาบถ หรือการแสดงอาการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง ไปทีละน้อยต่อเนื่องกันเป็นช่วง ๆ ตามเนื้อเรื่อง และจังหวะของการแสดงที่ได้รับการถ่ายทำ และตัดต่อมา ซึ่งภาพยนตร์เหล่านี้ อาจเป็นเรื่องราว หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง หรือเป็นเพียงบทบาททางการแสดง ให้ดูเหมือนจริง หรือเป็นการสร้างภาพจากจินตนาการของผู้สร้างก็ได้

ในการสร้างภาพยนตร์ เมื่อย้อนไปในอดีตยุคแรก ๆ ฟิล์มตอบสนองไม่รวดเร็ว ไม่มากพอที่จะจับภาพด้วยการเปิดรับแสงระยะสั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างจำเป็น ต่อการแสดงภาพเคลื่อนไหว ให้ได้อย่างลื่นไหล ด้วยเหตุนี้ การถ่ายภาพในช่วงปี ค.ศ. 1800 จึงต้องให้ตัวแบบ อยู่นิ่งเป็นเวลานาน กว่าจะได้ภาพยนตร์สักฉากใช้เวลานานอย่างยิ่ง 

Full Movies

จนในที่สุด เมื่อเข้าสู่ช่วงปลายยุค ค.ศ. 1880 ความก้าวหน้าทางเทคนิค ในการถ่ายทำภาพยนตร์ทำให้สามารถจับภาพได้ ในจำนวนเฟรมที่มากขึ้น ด้วยการใช้มือหมุนม้วนฟิล์มผ่านกล้อง กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของวงการ ซึ่งนำไปสู่การใช้เฟรมเรต ที่แตกต่างกันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรม โดยภาพยนตร์มีช่วงเฟรมเรตตั้งแต่ 14-26fps ที่แสดงให้เห็นว่า ในระหว่างการถ่ายทำ ไม่ได้มีการจับภาพเคลื่อนไหวแบบเรียลไทม์อย่างสม่ำเสมอ 

และต่อมาจึงเริ่มมีการพัฒนา เพิ่มกลไกหมุนเข้าไปในกล้องถ่ายภาพยนตร์ เพื่อทำให้กระบวน ในระหว่างการบันทึกเสถียรขึ้น แต่ผู้สร้างภาพยนตร์จำนวนมาก ยังคงนิยมถ่ายบางซีน ด้วยเฟรมเรตต่างกันขึ้นอยู่กับเทคนิคการถ่ายทำ และความชำนาญของทีมสร้าง เพื่อให้ได้ผลทางภาพยนตร์ที่แตกต่างกันไป เช่น ภาพการเคลื่อนไหวที่เร็วมาก ๆ แต่กลับทำออกมาได้อย่างดีเยี่ยม ในภาพยนตร์ของ Charlie Chaplin ที่สร้างความแปลกใหม่ให้ทั้งอุตสาหกรรม

ประเภทของสื่อภาพยนตร์ ที่พบมากในปัจจุบัน 

ต้องบอกก่อนเลยว่า ปัจจุบันภาพยนตร์ที่เราดูอยู่ทุกวันนี้ คุณพอจะทราบหรือไม่ ว่ามันมีอยู่กี่ประเภท การรู้จักกับประเภทภาพยนตร์ ทำให้เรารู้ว่า เนื้อหาของภาพยนตร์เรื่องนั้น จะดำเนินเรื่องราวเกี่ยวข้องกับอะไร ซึ่งช่วยให้ผู้ชมตัดสินใจได้ง่ายขึ้น ที่จะเลือกดูหรือเลือกที่จะเมินผ่านไปในช่วงต้น บทความของเราในวันนี้ ได้ทำการรวบรวมประเภทของภาพยนตร์ที่ได้รับความนิยม และค่อนข้างที่จะเป็นที่รู้จัก คุ้นหูใครหลาย ๆ คน กันมากที่สุดในบ้านเรา ลองไปดูกันดีกว่า ว่าจะมีประเภทไหนบ้าง ที่คุณรู้จัก และยังไม่รู้จัก

Full Movies

🎬 หนังบู๊ (Action)

เริ่มกันที่ประเภทแรก หนังบู๊ หรือ แอคชั่น จะมีเรื่องราวการดำเนินเรื่องราว คล้ายกับการผจญภัย ตัวเอกมักจะต้องพบเจอกับสถานการณ์ความเสี่ยง ซึ่งจะนำไปสู่การดิ้นรน หรือการต่อสู้กับอันตราย (รวมถึงการแสดงความกล้าหาญ ระเบิดฉากต่อสู้ ฉากการหลบหนี ฯลฯ ) บ่อยครั้งที่หนังมี 2 องค์ประกอบรวมอยู่ในเรื่องเดียวคือ “แอคชั่น” กับ “ผจญภัย” ซึ่งเป็น 2 ประเภทที่มีลักษณะคล้ายกันอย่างยิ่ง

🎬 หนังผจญภัย (Adventure)

เป็นเรื่องราวการผจญภัย ที่เกี่ยวกับตัวละครหลัก ที่มักจะต้องเดินทางไปยังสถานที่ที่ยิ่งใหญ่ หรือการพยายามที่จะฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ เพื่อทำตามเป้าหมาย ทำบางสิ่งให้สำเร็จ อาจสามารถมีองค์ประกอบประเภทอื่น ๆ อีกมากมายรวมอยู่ในนั้น เป็นอีกประเภทที่มักจะถูกหยิบถึงมาสร้าง เนื่องจากเป็นประเภทที่เปิดกว้างมาก เนื้อเรื่องสามารถปูทางได้อย่างอิสระ ขอบเขตค่อนข้างน้อย และสามารถในอะไรที่เหนือจินตนาการได้ตลอดทั้งเรื่อง ทำให้ผู้ชมลุ้น และตื่นเต้นตามได้ตลอดการรับชม

🎬 หนังตลก (Comedy)

หนังเบาสมองที่หลายคนชื่นชอบ และรู้จักกันเป็นอย่างดีในนามของหนัง Comedy เป็นเรื่องราวที่เล่าถึงเหตุการณ์ตลก ๆ หรือตลกที่ตั้งใจจะทำให้ผู้ชมหัวเราะ หลีกเลี่ยงความตึงเครียด หรือภาวะที่สะเทือนใจผู้ชม เป็นประเภทที่เปิดกว้างมากอีกประเภทหนึ่งในวงการภาพยนตร์ เนื่องจากนำไปใส่ร่วมกับภาพยนตร์ประเภทอื่น ๆ ได้ทั่ว ไม่ว่าจะเป็น หนังตลกซอมบี้, หนังล้อเลียน, หนังฮีโร่ที่มีการใส่มุกฮา ๆ , หนังตลกโรแมนติก ที่ตัวเอกมักจะทำอะไรตลก ๆ เพื่อสร้างเสียงหัวเราะ และความบันเทิงให้กับผู้ชมตลอดทั้งเรื่อง

🎬 หนังอาชญากรรม (Crime)

เป็นเรื่องราวอาชญากรรม เหตุการณ์สะเทือนอารมณ์ ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย ตั้งแต่การปล้นธนาคาร ไปจนถึงการก่อการร้าย การทำร้ายร่างกาย ไปจนถึงการฆ่า ตัวละครหลักมันมักจะตกอยู่ในแนวแอ็คชั่น หรือแนวผจญภัย เช่น เรื่องราวของนักสืบ การดิ้นรนหนีจากฆาตกร แก๊งมาเฟีย จอมโจร คดีฆาตกรรม จุดเด่นของภาพยนตร์ประเภทนี้คือ เนื้อเรื่องจะสามารถพลิกแพลงได้ และสามารถกระตุ้นอารมณ์ของผู้ชมให้อินไปกับหนังได้ง่าย

🎬 หนังดราม่า (Drama)

ภาพยนตร์ประเภทของนิยายเล่าเรื่อง เน้นนำเสนอเนื้อเรื่อง ที่สมจริงของตัวละคร ผ่านการแสดงที่เข้าถึงอารมณ์ และถ่ายทอดออกมาสู่ผู้ชม ละครดราม่ามักจะถูกพิจารณา ว่าเป็นสิ่งที่ตรงกันข้าม กับหนังตลก เนื่องจากผู้ชมจะรับรู้ความรู้สึกได้ต่างกัน บ้างเรื่องอาจจะเน้นการถ่ายทอดผ่านอารมณ์ตัวละครเลย หรือบางเรื่องจะใช้วิธีการพยายาม ทำให้คนดูรู้สึกสิ้นหวังโดยกับนำบทมาเป็นจุดเลิกอารมณ์ แต่อาจพิจารณาแยกจากงานอื่น ๆ ทำให้ภาพยนตร์ประเภทนี้ ไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนัก จะสอดแทรกให้เห็นเฉพาะบางฉากเท่านั้น

🎬 หนังแฟนตาซี (Fantasy)

เรื่องราวแฟนตาซี เป็นเรื่องเกี่ยวกับเวทมนตร์ การจินตนาการ หรือกองกำลังเหนือธรรมชาติ มากกว่าเทคโนโลยี ถ้ามันเกิดขึ้นในยุคสมัยใหม่ หรืออนาคต เน้นความเพ้อฝันที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้จริงในโลก แต่ถ่ายทอดออกมาผ่านบทภาพยนต์ที่ลงตัว กลายเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจ ขึ้นอยู่กับขอบเขต ขององค์ประกอบอื่น ๆ เช่น Harry Potter จะมีข้อกำหนดของเรื่อง ว่าเป็นหนังที่เกี่ยวข้องกับพ่อมด แต่มันถูกเรียกว่าเป็นซีรีย์แฟนตาซี

🎬 หนังผี (Horror)

เป็นการบอกเล่าเรื่องราวสยองขวัญ โดยเจตนาทำให้ตกใจ หรือทำให้ผู้ชมหวาดกลัว ขวัญผวา โดยผ่านความระแวงอย่างรุนแรง หรือตกใจ เน้นความระทึก และการลุ้นหรือการสร้างความกลัว ความน่าสนใจของภาพยนตร์ประเภทนี้คือ การเล่าเรื่องที่จะต้องเข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ จนเกือบจะวินาทีสุดท้าย บทจะต้องบีบครั้นอารมณ์ของผู้ชมให้ระแวงมากขึ้น ในแบบที่ยกตัวอย่าง เช่นผลงานของ H. P. Lovecraft หรือ หนังผีบ้านเราที่ค่อนข้างโด่งดังและทำได้ดีไม่แพ้ต่างชาติ ที่หลายคนอาจจะคุ้นเคย มากที่สุดอย่างแน่นอน

การปรับตัวของ วงการภาพยนตร์ ในยุคสตรีมมิง

เมื่อยุคสมัย และวันเวลาเปลี่ยนไป หนึ่งในอุตสาหกรรม ที่ปรับตัวให้ทันเทคโนโลยีอยู่เสมอก็เห็นจะเป็น “วงการภาพยนตร์” โดยการพัฒนาผ่านความเปลี่ยนแปลง ของเทคโนโลยีในแต่ละยุคสมัย ซึ่งเริ่มขึ้นตั้งแต่วิดีโอ สร้างความบันเทิง ภายในบ้าน (Home Entertainment) จนล่วงเลยมาสู่ยุค VCD, DVD ที่หลายท่านชื่นชอบ กระทั่งปัจจุบันที่ก้าวเข้าสู่ยุค “Streaming” อย่างสมบูรณ์แบบ และได้กลายเป็นช่องทาง mainstream สำหรับการรับชมคอนเทนต์ สื่อความบันเทิงประเภทต่าง ๆ ไปแล้ว นอกจากนี้การสตรีมมิงยังเป็น จุดเปลี่ยนพฤติกรรมการเสพคอนเทนต์ จากเดิมที่จะต้องถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขบางประการ ให้ปัจจุบันสามารถดูได้ทุกที่ ทุกเวลาตามที่ตัวเองสะดวก

ด้วยเหตุนี้ทำให้วงการภาพยนตร์ จำเป็นจะต้องมีการขยับขยาย และเพิ่มช่องทาง ในการทำมูลค่าเพิ่มเติมให้กับภาพยนตร์ที่ตนเองสร้างขึ้น จากในอดีตที่ภาพยนตร์จะสามารถทำรายได้ ได้จากการออกฉายตามโรงภาพยนตร์ และการวางจำหน่าย  VCD, DVD ปัจจุบันเราจะพบว่า วงการนี้ได้มีการปรับเปลี่ยนเป็นการนำภาพยนตร์เรื่องที่ฉายเสร็จสิ้นผ่านไปแล้ว มาเข้าสู่ช่องทางออนไลน์สตรีมมิง หรือบางเรื่องก็จงใจที่จะจัดสร้างเพื่อนำเข้าช่องทางสตรีมมิงโดยเฉพาะ เนื่องจากเป็นตลาดผู้ชม ที่มีขนาดใหญ่ กำลังครองใจคนทั่วโลก ออกฉายได้หลายประเทศ เพื่อทำรายได้เพิ่มเติม โดยช่องทางที่กำลังได้รับความนิยมในขณะนี้ ได้แก่

Full Movies Netflix

🎞 Netflix 

การให้บริการดูภาพยนตร์ออนไลน์ ในรูปแบบสตรีมมิ่ง โดยจะสามารถเลือกดูผ่านเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันของ Netflix ก็ได้ ลักษณะของบริษัทนี้ จะมีความคล้ายคลึงกับการเช่าหนัง ในรูปแบบเหมาจ่าย ที่หลายคนคุ้นเคยกันดีในสมัยก่อน สำหรับอัตราค่าบริการ จะมีเรทที่ไม่แพง โดยราคาต่ำสุดอยู่ที่ 280 บาท/เดือน ขยับขึ้นมาอีกนิดจะอยู่ที่ 350 บาท/เดือน ความพิเศษคือ จะสามารถดูได้ 2 จอพร้อมกันแบบ HD ส่วนแบบที่หลายคนนิยมคือ Premium 420 บาท/เดือน สามารถดูได้ทั้งสิ้น 4 จอพร้อมกัน โดยเราสามารถแบ่งให้คนอื่น ๆ ดูได้ด้วย จึงเหมาะสำหรับการรวมกลุ่มเพื่อหาร ของกลุ่มเพื่อนให้ได้อัตราค่าบริการที่ถูกลงนั่นเอง ปกติพฤติกรรมการดูภาพยนตร์หรือซีรีย์ มักจะอยู่ในเวลาไม่ซ้ำกันอยู่แล้ว อาจมีบางช่วงที่ซ้ำกัน เช่น 2 ทุ่ม-4 ทุ่ม หรือวันหยุดแต่นั่นถือว่าน้อยมาก ๆ

Full Movies  Disney

🎞 Disney Plus 

จะเป็นบริการสตรีมมิง ที่มีรูปแบบการบริการลักษณะเดียวกับ Netflix มีการพัฒนาระบบ ให้มีคุณภาพสูงโดยที่ Disney+ จะสามารถสตรีมมิง ด้วยความละเอียดสูงสุดอยู่ที่ 4K และนอกจากนี้ ยังสามารถรองรับการแสดงผล HDR แบบขั้นสูงอย่าง Dolby Vision รวมไปถึงความสามารถในการแสดงผลแบบ HDR10 แบบปกติได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับว่าผู้ใช้บริการ ต้องการแบบใด สำหรับเรื่องของเสียงนั้นทาง Disney+ จะมีการพัฒนาให้สามารถ รองรับระบบเสียงแบบ Dolby Atmos ได้เหมือนกับบริการคู่แข่งอย่าง Netflix ทุกประการ Disney+ มีค่าบริการรายเดือนอยู่ที่ราว ๆ $6.99 ต่อเดือน มีคอนเทนท์แฟรนด์ไชส์ ภาพยนตร์หลากหลาย และซีรีส์ในกลุ่มประเทศยุโรป โดยล้วยเป็นผลงานจากค่ายดัง เช่น Disney, Pixar, Marvel, Star Wars และ National Geographic

ภายใต้วิกฤตดังกล่าววงการสตรีมมิ่ง อาจกลายเป็นทางรอดสำคัญ สำหรับอุตสาหกรรมในประเภทของภาพยนตร์ ในฐานะช่องทางการกระจายภาพยนตร์ใหม่ ๆ ที่ต่างออกมาผลิต และพัฒนาผลงานกันอย่างต่อเนื่อง ส่งตรงถึงมือผู้บริโภคภายในไม่กี่คลิก ยุคของเทคโนโลยีที่เอื้ออำนวยแบบสุดขีด ซึ่งจะเห็นได้ว่าค่ายต่าง ๆ ทั้ง Disney และ Netflix เริ่มใช้สตรีมมิ่งเสิร์ฟภาพยนตร์เรื่องต่าง ๆ ถึงมือผู้ชมโดยไม่ผ่านโรงภาพยนตร์มากขึ้น

โลกของโรงภาพยนตร์ เริ่มเปลี่ยนไป นับตั้งแต่ยุคหลังโควิดยังไม่แน่นอน สตรีมมิ่งกลายเป็นปัจจัยหลัก ในวงการภาพยนตร์มากขึ้น และตัวแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งเอง ก็มีหลายค่ายที่กำลังแข่งขันกันพัฒนา ปรับรูปแบบให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อหวังดึงดูดใจกลุ่มลูกค้า ส่วนโรงภาพยนตร์ก็ยังมีจุดแข็งบางประการ ที่สตรีมมิ่งสู้ไม่ได้อยู่บาง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของประสบการณ์ขณะรับชม อารมณ์ของภาพยนตร์ ที่ส่งตรงได้ถึงใจกว่า และความสดใหม่ในการรับชม เป็นต้น

ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2020 เป็นช่วงที่อุตสาหกรรมภาพยนตร์ ขยับขยายกันแบบยกใหญ่ เราเริ่มเห็นกระแส การฉายภาพยนตร์ บนแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งมากขึ้น พร้อมกับโรงภาพยนตร์ที่เริ่มเปิด ให้บริการมากขึ้น หรือบางเรื่องก็ฉายบนแฟลตฟอร์มสตรีมมิ่ง อย่างเดียวเลยด้วยซ้ำ

เริ่มจากค่าย Disney ที่ชิมลางตลาดด้วยการส่งภาพยนตร์เรื่อง Mulan ฉบับคนแสดง มาทดลองลงแพลตฟอร์ม Disney+ ของทางค่ายเอง โดยเก็บค่าธรรมเนียม เพิ่มเติม 30 เหรียญสหรัฐฯ หรือราว 900 บาท ก่อนเผย ร่างที่แท้จริงของ Disney ในงานแถลงแผนการทางการตลาด ต่อนักลงทุนปี 2020 ปรับโครงสร้างธุรกิจขนาดใหญ่ ก่อนเริ่มเปิดประตูเข้าสู่วงการสตรีมมิ่งเต็มตัว

“รายได้” บ่งบอกความสำเร็จ “รางวัล” การันตีคุณภาพ

ภาพยนตร์หลากหลายเรื่อง ถูกสร้าง และพัฒนาบทอย่างเอาจริงเอาจัง โดยมีจุดมุ่งหมายที่มากกว่าการนำเสนอออกสู่สายตาผู้ชม รางวัลในแขนงต่าง ๆ เป็นเครื่องการันตีได้ ถึงความมีคุณภาพ ในภาพยนตร์เรื่องนั้น ๆ เพราะฉะนั้น หากคุณเป็นอีกหนึ่งคน ที่คอยติดตามความเป็นไปของวงการภาพยนตร์แล้วล่ะก็ คุณจะเห็นถึงการสัมภาษณ์ หรือการพูดถึงรางวัล ที่ทางทีมผู้กำกับ หรือแม้แต่ตัวนักแสดงเอง ล้วนหมายปอง รางวัล หรืออันดับต่าง ๆ ที่ถูกจัดขึ้นทุก ๆ ปี รางวัลเหล่านี้จะทำให้พวกเขารู้สึกว่าภาพยนตร์ ที่พวกเข้าทุ่มเท และจัดสร้างนั้นประสบความสำเร็จแล้วจริง ๆ โดยการจะได้รางวัล หรือการจะถูกจัดอันดับนั้น จะต้องมีการพิจารณา และพิสูจน์ได้จริง ถึงกระแสความนิยม และคุณภาพของตัวหนัง ตามสาขารางวัลที่ได้รับ 

🏆 รางวัลออสการ์ (Oscar)

เริ่มกันที่รางวัล ที่ใคร ๆ ก็ต่างคุ้นชื่อกันเป็นอย่างดี อะแคเดมีอะวอร์ด (Academy Award) หรือรู้จักกันในชื่อ รางวัลออสการ์ (Oscar) ภาพของรางวัลตุ๊กตาทอง ที่ทั่วโลกต่างรู้จัก เป็นรางวัลที่มอบให้กับ ความสำเร็จในด้านศิลปะ และด้านเทคนิคในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ เป็นรางวัลทรงคุณค่า ที่อยู่คู่กับวงการภาพยนตร์มาช้านาน จัดเป็นประจำทุกปีโดย สถาบันแห่งศิลปะ และวิทยาการภาพยนตร์ รางวัลนี้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล สามารถการันตีได้ถึงความเป็นเลิศ ในด้านความสำเร็จของภาพยนตร์เรื่องนั้น ๆ ซึ่งประเมินโดยการลงคะแนนเสียง จากสมาชิกของสถาบัน ที่มีความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ที่สูงพอสมควร ผู้ชนะเลิศในสาขาต่าง ๆ จะได้รับสำเนารูปปั้นทองคำไปครอง โดยมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “รางวัลสถาบันสำหรับคุณงามความดี” (Academy Award of Merit) แม้ว่าคนทั่วไป จะคุ้นชินชื่อเรียกโดยย่อว่า “ออสการ์” ก็ตาม

Full Movies รางวัลออสก้า
Full Movies วิลสมิธ
Full Movies เดินพรมแดง

ปัจจุบันรางวัลต่าง ๆ จาก อะแคเดมีอะวอร์ด มีทั้งสิ้น 24 สาขา โดยจะแยกออกเป็นรางวัลใหญ่มี 5 รางวัล (Big Five) ได้แก่ รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (Best Picture), รางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยม (Best Director), รางวัลบทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม (Best Adapted Screenplay), รางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (Best Actor) และ รางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (Best Actress) 

🏆 อันดับภาพยนตร์ ทำเงินสูงสุดตลอดกาล

แม้ว่าภาพยนตร์หนึ่งเรื่อง สามารถทำเงินได้จากหลายแหล่ง ไม่ว่าจะเป็น การฉายในโรงภาพยนตร์, การขายโฮมวิดีโอ, การขายสิทธิ์ในการออกอากาศผ่านทางโทรทัศน์ ไปจนถึงการขายสินค้า จากภาพยนตร์ในเรื่องนั้น ๆ รายได้จากการฉายภาพยนตร์ ก็ยังคงเป็นตัวชี้วัดหลัก สำหรับนิตยสารการค้า ในการประเมินความสำเร็จของภาพยนตร์ เนื่องจากว่าข้อมูลที่เข้าถึงได้ง่ายกว่า เมื่อเทียบกับยอดมูลค่าอื่น ๆ ที่จำหน่ายของโฮมวิดีโอ และราคาของสิทธิ์ในการออกอากาศ ที่สามารถเพิ่มเติมได้เรื่อย ๆ ในภายหลัง อีกทั้งยังเป็นการปฏิบัติต่อ ๆ กันมาตั้งแต่ในอดีต โดยภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดตลอดกาล จะมีการเรียงลำดับตามรายชื่อ ทั้งจากจำนวนเงินที่ทำได้ และมูลค่าที่แท้จริง นอกจากนี้ยังมีตารางภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดโดยแยกออกมาในแต่ละปี มีการแสดงเส้นเวลาการเปลี่ยนแปลง ของภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุด และแฟรนไชส์ โดยตารางทั้งหมด จะถูกจัดอันดับโดยตัวเลขที่ได้ จากบ็อกซ์ออฟฟิศทั่วโลก ซึ่งจะถูกคำนวณเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ และแสดงเฉพาะรายได้ ที่มาจากการฉาย ในโรงภาพยนตร์เท่านั้น โดยปัจจุบันภาพยนตร์ที่ทำรายได้อยู่ในตารางอันดับหนังทำเงิน มีทั้งสิ้น 50 เรื่อง โดยหนังที่ทำรายได้จนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของตารางนี้ได้ จะเริ่มต้นตั้งแต่ $1,004,934,033 เป็นต้นไป และสูงสุดในขณะนี้ คือ $2,922,917,914 ที่เรื่องอวตาร ในปี 2009 สามารถทำได้

Full Movies อวตาร
อันดับ 1 อวตาร
Full Movies อเวนเจอร์ส : เผด็จศึก
อันดับ 2 อเวนเจอร์ส : เผด็จศึก
Full Movies ไททานิค
อันดับ 3 ไททานิค

🏆 วงการภาพยนตร์ไทย รางวัลสุพรรณหงส์ 

มองข้ามไปไม่ได้ สำหรับวงการภาพยนตร์ ของบ้านเราที่ต้องยอมรับ ว่าตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา มีภาพยนตร์มากมายที่ประสบกความสำเร็จ สร้างรายได้ และสร้างชื่อเสียงมากมาย ผลักดันให้นักแสดงนำจากเรื่องนั้น ๆ ดังเป็นพลุแตกทันทีที่ออกฉาย ในขณะเดียวกัน หลาย ๆ เรื่องก็เข้าตา ตรงใจ ถูกซื้อลิขสิทธิ์ไปฉายต่างประเทศ กลายเป็นความภาคภูมิใจของวงการภาพยนตร์ไทยบ้านเราอย่างยิ่ง งานประกาศรางวัลทรงคุณค่า ในฝั่งของวงการภาพยนตร์ไทย

‘สุพรรณหงส์’ ที่ถูกจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยมีจุดมุงหมาย หวังผลักดันให้คนเบื้องหน้า และเบื้องหลังที่ตั้งอกตั้งใจ รวมถึงอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ของประประเทศไทย ให้ก้าวสู่มาตรฐาน ระดับนานาชาติ เพื่อให้คนรุ่นใหม่รวมถึง บุคคลทั่วไปในวงการภาพยนตร์ ทั้งคนใน และนอกวงการบันเทิงได้มีส่วนร่วมมากขึ้น

สำหรับงาน ‘สุพรรณหงส์’ ในทุก ๆ ปีนี้ถูกจัดขึ้นช่วง ๆ ปลายปี ณ โรงภาพยนตร์สยามภาวลัย ศูนย์การค้าสยามพารากอน ที่หลาย ๆ คนคุ้นเคยเป็นอย่างดี แต่ละครั้งจะจัดขึ้น โดยสมาพันธ์ สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) และกรุงเทพมหานคร เป็นเจ้าภาพร่วมกัน เพื่อมอบรางวัล และให้กำลังใจทีมงานภาพยนตร์ของไทย ให้มีกำลังใจต่อยอด สร้างสรรค์ผลงานดี ๆ ออกมาแบบต่อเนื่อง

Full Movies รางวัลสุพรรณหงส์ 

ภายในงาน จะมีการเชิญแขกผู้ร่วมงาน ที่ทำงานคลุกคลีอยู่ในวงการภาพยนตร์ ทั้งเบื้องหน้า และเบื้องหลังร่วมร้อยชีวิต นอกจากจะประกาศรายชื่อ ผู้เข้าชิงรางวัลต่าง ๆ รวมทั้งหมด 16 สาขาแล้ว ยังมีการเดินพรมแดง ถ่ายภาพ และการแสดงมากมาย เพื่อเป็นสีสันให้งานดังกล่าว ภายในพิธีมอบรางวัลอันทรงคุณค่า รางวัลจากภาพยนตร์ไทยที่เข้าฉายในปีนั้น ๆ ทั้งหมดตามรายชื่อเข้าชิง สำหรับในปีหลัง ๆ ยังมีการเปิดตัวรางวัลพิเศษ “Most Popular Thai Film” หรือภาพยนตร์ไทยยอดนิยมประจำปี

โดยความน่าสนใจอยู่ที่รางวัลนี้ ให้บุคคลทั่วไปในทุกสาขาอาชีพ ได้มีส่วนร่วมในการร่วมโหวตภาพยนตร์ ที่ชื่นชอบผ่านช่องทางที่ถูกกำหนดขึ้น เช่น การสแกนคิวอาร์โค้ด ในจุดที่มีประติมากรรมสุพรรณหงส์ตั้งอยู่ 10 แห่งทั่วกรุงเทพ และระบบออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อเฟ้นหาว่าภาพยนตร์ เรื่องไหนในแต่ละปี จะครองใจมหาชนมากที่สุดอีกด้วย

อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย กว่าจะถึงวันนี้ ก็ต้องยอมรับว่า ผ่านช่วงเวลาล้มลุกคลุกคลาน เติบโต และถดถอยมาหลายครั้ง ตามยุคสมัย ความต้องการของผู้ชม และเหตุการณ์ต่าง ๆ ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960-1980 ที่ก้าวหน้าต่อเนื่อง เพราะการจำกัดโควตาภาพยนตร์ต่างประเทศ ในช่วงก่อนจะต้องเผชิญหน้า กับความซบเซา เงียบเหงาในช่วงปี 1990 และฟื้นฟูอีกครั้งตามระยะเวลา

ปัจจุบันจำนวนภาพยนตร์ไทย จำนวนมากที่ผลิต และฉายออกสู่ตลาด ในแต่ละปีมีจำนวนอยู่ที่ 50-70 เรื่อง โดยนับรวมทั้งภาพยนตร์ที่มีการโปรโมต จากค่ายใหญ่ ๆ และภาพยนตร์ต้นทุนต่ำ ซึ่งถือเป็นจำนวนน้อย หากนำไปเทียบกับญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ และเท่า ๆ กับฮ่องกงที่มีจำนวนประชากรน้อยกว่า

หนึ่งในปัญหาของภาพยนตร์ไทย ยังอยู่ที่ปัญหาเดิม ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผูกขาด ของระบบโรงฉาย ที่มีตัวแทนอย่างเป็นทางการอยู่ไม่กี่บริษัท โรงภาพยนตร์ในต่างจังหวัด ที่อยู่ในระบบสายหนัง ซึ่งปัจจุบันยังไม่เปิดโอกาสให้ภาพยนตร์ใหม่ ๆ ของผู้กำกับอิสระที่ไม่ขึ้นกับค่ายหนัง ได้รับโอกาสที่เปิดกว้างขึ้น

อย่างไรก็ดี สภาพเศรษฐกิจตามยุคสมัย ยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ที่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค ให้ต้องเลือกอย่างถ้วนถี่ เมื่อคิดจะชมภาพยนตร์สักเรื่อง ความคุ้มค่า ความต้องการ และราคาค่าตั๋ว ที่จะต้องจ่าย เนื่องจากปัจจุบัน ประเทศไทยติดอันดับตั๋วภาพยนตร์ราคาสูงพอสมควร เมื่อเทียบกับค่าครองชีพ ที่คนไทยต้องแบกรับ นอกจากนี้ การเผชิญกับยุคดิจิทัล ที่เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คน ให้พลิกผันไปจากแต่ก่อน ความบันเทิงในรูปแบบ ของออนไลน์สตรีมิ่ง (online steaming) ถือได้ว่าเป็นทางเลือกใหม่ ที่สามารถตอบโจทย์ชีวิต ในยุคสมัยที่เปลี่ยนไปได้

ภาพยนตร์ไทย ยังคงมองแรงสนับสนุน เพื่อก้าวขึ้นไปอีกขั้น

เริ่มต้นคงต้องยอมรับก่อนว่า กลุ่มคนที่อยู่ในวงการภาพยนตร์ขณะนี้ หลายท่านมาจากกลุ่มคนที่ชอบดูภาพยนตร์ ก่อนจะเข้ามาสู่การทำค่ายหนัง และหลายคนคงกำลังตั้งข้อสงสัย กันอยู่ไม่น้อยว่าทำไม วงการภาพยนตร์ไทยบ้านเรา ถึงสู้เมืองนอกไมได้สักที ทั้งทีในแต่ละปี ก็มีภาพยนตร์มากมาย ถูกนำเสนอออกมาสู่สายตาผู้ชม และเมื่อสังเกตไปที่ในระดับเอเชีย ประเทศอื่น ๆ ก็ไปไกลกันหมดแล้ว อย่างล่าสุดประเทศเกาหลีก็ทำ CG ออกมาได้ดี ชนิดที่หลาย ๆ ประเทศให้การยอมรับ กลายเป็นการพัฒนาขึ้นไปอีกขั้น ที่ประเทศเหล่านั้นทำได้

ภาพยนตร์ไทย Full Movies

แต่เมื่อหลาย ๆ คน ที่ได้ก้าวเข้าสู่งานสาขาภาพยนตร์อย่างแท้จริง จึงได้รู้ว่า การที่เราสร้างภาพยนตร์ 1 เรื่อง มีรายละเอียดมากมาย รวมถึงต้นทุนแฝงอีกหลายประการ เริ่มจากการที่นายทุนใช้เงินในการสร้าง และค่าใช้จ่ายสำหรับการตลาด ในการทำ PR โปรโมท หนังแต่ละเรื่องจะต้องออกแบบ และคิดเรื่องเหล่านี้อย่างถีถ้วน ตามมาติด ๆ สำหรับการจะหาวิธีเข้าฉาย ในโรงภาพยนตร์ได้ ก็ต้องผ่านบริษัทรับจัดจำหน่ายอย่างเป็นทางการ ในการนำเข้าโรงภาพยนตร์ 

อย่าลืมว่า โรงภาพยนตร์บ้านเรา มีเพียงแค่ 2 ค่ายยักษ์ใหญ่เท่านั้น เพราะฉะนั้น นี่จึงเป็นอีกหนึ่งข้อจำกัด ที่ปฏิเสธไม่ได้ ว่าวงการภาพยนตร์ไทยบ้านเรา จะต้องพึ่งพาเขา ให้ภาพยนตร์เรื่องนั้น ๆ ได้เข้าฉายอย่างเป็นทางการ แต่รู้หรือไม่ว่ากว่าภาพยนตร์สักเรื่อง จะมีรายชื่อปรากฎ และกำหนดรอบฉายนั้น ตามเงื่อนไข ข้อสัญญาโรงภาพยนตร์สามารถหักก่อนรายได้ก่อนได้ทันที 50%

ซึ่งหมายความว่า ถ้าภาพยนตร์สักเรื่อง สามารถทำรายได้ปิดจบ ภาพยนตร์เรื่องนั้นที่ 100 ล้านบาท โรงภาพยนตร์จะหักกำไรส่วนแบ่งรายได้ทันที 50% เท่ากับจะเหลือ 50 ล้านบาทอยู่ในมือ แต่นี่ยังไม่ใช่รายได้สุทธิ ที่ผู้สร้างภาพยนตร์จะได้รับ เป็นที่ทราบกันดีว่าจะต้องโดนบริษัท รับจัดจำหน่ายภาพยนตร์ หักออกไปอีกราว ๆ 10-15% เพราะฉะนั้นยอดที่หลาย ๆ คนเห็นว่าภาพยนตร์เรื่องนั้นเรื่องนี้ ประสบความสำเร็จ มียอดขายทะลุเท่านั้นเท่านี้ มันไม่ใช่กำไรทั้งหมดอย่างที่เราเข้าใจ เพราะสุดท้ายแล้ว หากลองคิดกันแบบง่าย ๆ เจ้าของภาพยนตร์ จะได้รายได้จาก 100 บาท เหลือเพียงไม่ถึง 40 บาท หรือน้อยกว่านั้น ซึ่งเมื่อคิดในเรื่องของแรงกาย แรงใจที่ต้องทุ่มเทไป ในระหว่างการสร้าง มองไม่เห็นทางเลยว่าเค้าจะได้กำไรตรงไหน 

แต่ถึงจะเป็นเช่นนี้ ก็ต้องยอมรับว่ามันคือ สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ หลังจากหนังฉายในโรงครบกำหนด ค่ายหนังก็ต้องไปเร่ขายตาม platform อื่น เพื่อหวังสร้างรายได้จากลิขสิทธิ์เพิ่มเติม แม้จะมีโอกาสโดนกดราคาในเวลาต่อมาก็ตาม รวมถึงการจะส่งไปขายสิทธิ ต่างประเทศก็ยังไม่มีหน่วยงานรัฐภาคส่วนใด ที่ช่วยผลักดันคนทำวงการภาพยนตร์ไทยอย่างจริงจัง ขาดแรงสนับสนุน ทำให้ปัจจุบัน ค่ายหนังยังต้องดิ้นรนกันเองทุกอย่าง ค่ายหนังใหม่ที่จะเกิดในวงการก็ยาก ที่จะแจ้งเกิดในยุคเช่นนี้ เรียกได้ว่าต้องมีใจรัก ในแวดวงนี้พอสมควร ถึงจะอยู่ในวงการภาพยนตร์ได้

และนี่คือทั้งหมดของวงการภาพยนตร์ ที่หลาย ๆ คนชื่นชอบ ให้ความสนใจ สำหรับประเทศไทยแล้วแวดวงดังกล่าว ยังคงจำเป็นจะได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดจุดพัฒนา และต่อยอดออกสู่สายตาชาวโลกได้มากขึ้นกว่านี้ รวมถึงการรับมือกับการปรับตัว ทางเทคโนโลยีที่วงการภาพยนตร์ จะต้องปรับตัวไปเรื่อย ๆ เน้นสร้างหนังในตอบโจทย์ และเลือกช่องทางในการฉายภาพยนตร์ ให้สอดคล้องกับงบประมาณ และสเกลต่าง ๆ ของผลงาน เพื่อให้ภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวประสบความสำเร็จ ออกสู่สายตาผู้ชมได้อย่างภาคภูมิใจ

ขอบคุณที่มาจาก : วงการภาพยนตร์ สื่อภาพยนตร์ Netflix Disney+ รางวัลออสการ์ หนังทำเงินสูงสุดตลอดกาล รางวัลสุพรรณหงส์ ภาพยนตร์ไทย

ปิด
QUEENCLUB88 แจกโบนัสฟรี 100%

QUEENCLUB88 แจกโบนัสฟรี 100%

โบนัสฝากเงินครั้งแรก 100%